วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Infographic กลยุทธ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
คำอธิบาย
1. Facebook,Fanpage
ทำเป็นเฟจให้คนที่สนใจเข้ามาติดตามเฟจ เพื่อดูสินค้าที่ทางร้านได้อัฟลง และสามารถสั่งซื้อได้เลย
2. Webbord
นำมาทำเป็นกระดานสนทนาสำหรับลูกค้าที่อาจจะมีความไม่เข้าใจในตัวสินค้า หรือต้องการสอบถามสินค้าของทางร้าน
3.Instagram
ใช้อัพภาพสินค้าที่ที่ขาย เพราะในปัจจุบันนี้ Instagram นั้นค่อนข้างจะเป็นแอฟที่ได้รับความนิยมอยู่มาก
4. Application
ทางร้านจัดทำ Application เพื่อให้ลูกค้าสามารถ ดาวน์โหลด App ลงบนมือถือได้ เพื่อใช้ในการดูสินค้า หรือสั่งสินค้า
5. Website
เป็นช่องทางที่ 2 สำหรับการติดต่อซื้อขายเพราะในสมัยนี้หลายๆ คนมีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างมาก Website จะมีการลงรูปสินค้า รายละเอียดของสินค้า และให้ลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดได้โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ร้าน
6. Messenger
ส่งข้อความระหว่างทางร้านกับลูกค้า
7. Promotion
การจัดโปรโมชันจะช่วยดึงให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะไม่ว่าอย่างไรหลายๆ คนก็อยากจะได้สินค้าราคาถูกกันทั้งนั้น
8. Cartoon
นำการ์ตูนมาเป็นตัวแนะนำสินค้า ซึ่งการ์ตูนก็น่าจะสามารถดึงดูดความสนใจจากลุกค้าได้มากขึ้น เพราะการ์ตูนสามารถดูแล้วเข้าใจง่าย
9. Brochure
Brochure มาเป็นตัวกระจายสินค้า ใน Brochure ก็มีการนำเอารายละเอียดสินค้าของทางร้าน การบริการ หรืออาจจะบอกที่อยู่ของทางร้าน เพื่อง่ายต่อการเดินทางมาซื้อขายสินค้าได้สะดวก
10. Pop-up
นำมาใช้ในการอธิบายคุณสมบัติของสินค้าแต่ละตัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้นก่อนการซื้อสินค้า
11. Forwordmaill
ทำการ Forwormaill ข้อมูลทางร้านส่งต่อไปเรื่อยๆ
12. Cable TV
ทำเป็นรายการแนะนำสินค้าของทางร้าน
13. Videoclip
ใช้ถ่ายระบบการบริการของทางร้าน ถ่ายสินค้าในร้านว่ามีอะไรบ้าง และถือเป็นการโปรโมทร้านไปในตัว
14. Blogger
นำรายละเอียดของสินค้ามาใส่ใน Blogger เพื่อเป็นตัวช่วยการตัดสินใจในการซื้อสินค้า และมีการอัฟเดตข้อมูลสินค้าของทางร้านอยู่ตลอดเวลา
เทคโนโลยีทางการผลิต
การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ได้มีผู้ให้ความหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิต เป็นต้น ซึ่งความหมายการเพิ่มผลผลิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ
1. การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input) (แรงงาน เครื่องมือ วัตถุดิบ เครื่องจักร พลังงาน และอื่น ๆ ) กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต (Output) (ตู้เย็น รถยนต์ การขนส่ง) สามารถคำนวณได้จาก
การเพิ่มผลผลิต (Productivity) = ผลผลิต (Output)
ปัจจัยการผลิต (Input)
ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น น้ำหนัก เวลา ความยาว และการวัดตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน
2. การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม หมายถึงการที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ (Consciousness of Mind) เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร พลังงาน และเงินตรา ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม
ที่มา http://intimeproduct19.tripod.com/about/Untitled-1.html
ที่มา http://aleeeyah33.blogspot.com/2010/09/blog-post_4315.html
ที่มาhttp://www.youtube.com/watch?v=_PtwVIGncVg
1. การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input) (แรงงาน เครื่องมือ วัตถุดิบ เครื่องจักร พลังงาน และอื่น ๆ ) กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต (Output) (ตู้เย็น รถยนต์ การขนส่ง) สามารถคำนวณได้จาก
การเพิ่มผลผลิต (Productivity) = ผลผลิต (Output)
ปัจจัยการผลิต (Input)
ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น น้ำหนัก เวลา ความยาว และการวัดตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน
2. การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม หมายถึงการที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ (Consciousness of Mind) เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร พลังงาน และเงินตรา ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม
ที่มา http://intimeproduct19.tripod.com/about/Untitled-1.html
ที่มา http://aleeeyah33.blogspot.com/2010/09/blog-post_4315.html
ที่มาhttp://www.youtube.com/watch?v=_PtwVIGncVg
การจัดการโลจิสติกส์
การบริหารการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) หมายถึง กระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม และการควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล และธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวมและการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในปัจจุบันถือว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นกระบวนการย่อยหนึ่งในการจัดการสินค้าและบริการตลอดสายของโซ่อุปทาน
โลจิสติกส์ (logistics) คือ การพยากรณ์ การวางแผนการผลิต การจัดซื้อ บรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายภายในองค์กร การผลิต คลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินคา การบริการลูกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวของกันแบบเป็นกระบวนการ การวัดผลงานการดำเนินงานในกระบวนการของบริษัททั้งหมด หรือทั้งซัพพลายเชน จะเห็นภาพขององค์การมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากกว่า การทำงานของแต่ละฝ่าย และมีการแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์ เป็น 2 กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้
- 1. การจัดการวัสดุ (Material Management)
- 2. การจัดการการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management)
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ (logistics)
- เตรียมตัวทำงานในสายอาชีพ Logistics (โลจิสติกส์) {ฉบับคนทำงาน}
- AEC หรือ Asean Economics Community คืออะไร
- โลจิสติกส์อุตสาหกรรม หรือ Manufacturing Logistics คืออะไร
- ประเด็นบทบาทสำคัญของโลจิสติกส์ (logistics)
- ที่มา
- ที่มาhttp://www.thaimht.net/knowledge_detail.php?id=11
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=RLgdLY5cyK4
ระบบสารสนเทศทางการผลิต
ระบบสารสนเทศทางการผลิต
ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ โดยจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน
การจัดการผลิตและดำเนินงาน
การผลิตและการดำเนินงาน คือ กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาดเป็นไปอย่างราบรื่น
กระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงานเพราะปัจจัยการผลิต คือ สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของระบบการผลิตนั่นเอง หากปัจจัยการผลิตของธุรกิจประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ทางด้านแรงงานและด้านบริหาร สินทรัพย์ประเภททุน ก็ยังมีสิ่งนำเข้ากระบวนการผลิตอื่นที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของธุรกิจ คือ ความคิดเห็นของลูกค้าภายในละภายนอกองค์การตลอดจนสารสนเทศด้านผลการประกอบการขององค์การ
วิวัฒนาการการผลิต
ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ เวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้และใช้วิธีการผลิตตามคำสั่งหรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง มาแทนที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง
กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน
จะเน้นถึงความต้องการของลูกค้าที่สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์การ อาศัยความร่วมมือจากแผนกการตลาดและการผลิตที่จะทำการค้นหาความต้องการของลูกค้าละนำมากำหนดเป็นความได้เปรียบทางการผลิต การผลิตตามความต้องการของลูกค้าและปริมาณการผลิตมีความยืดหยุ่น ซึ่งริทซ์แมนและกาจิวสกีจำแนกกลยุทธ์การผลิตเป็น 3 กลยุทธ์ ดังนี้
1. การเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ธุรกิจมักจะมีการผลิตสินค้าเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าทันที เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก
2. การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต ในปริมาณน้อยการออกแบบกระบวนการผลิตแต่ละครั้งจะขึ้นกับความต้องการของลูกค้า
3. การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน
นับเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ก่อเกิดผลผลิตในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ และจัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต เน้นความพึงพอใจของลูกค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นหลัก โดยจัดแบ่งหน้าที่การผลิตดังนี้
1. การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยหาคำตอบว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด ผลิตอย่างไร เกิดความต้องการผลิตสินค้าและบริการเมื่อใด
2. การออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
3. การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการผลิตในส่วนลดต้นทุนการขนส่ง และรักษาคุณภาพของวัสดุระหว่างการขนส่ง
4. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน โดยทำการวางแผนกำลังการผลิต การจัดสรรทรัพยากรการผลิตและการจัดตารางการผลิต เพื่อระบุวันเริ่มผลิตและส่งมอบสินค้า
5. การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ โดยเลือกใช้ระบบการจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการงานระหว่างทำ ซึ่งก็คือสินค้าที่ยังผลิตไม่เสร็จและจะต้องทำการผลิตต่อ โดยโดยเลือกใช้เทคโนโลยีในช่วยในการจัดการ
6. การควบคุมคุณภาพสินค้า โดยทำการควบคุมและรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
7. การลดต้นทุนการผลิต โดยทำการค้นหาวิธี หรือแนวคิดใดๆซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการ
8. การขจัดความสูญเปล่าเป็นแนวคิดหนึ่งของระบบการผลิตสมัยใหม่ที่นำมาใช้อย่างได้ผลในปัจจุบัน โดยจะต้องออกแบบและดำเนินการตามมาตรการที่ลดความสูญเปล่าในโรงงาน
9. ความปลอดภัยในโรงงาน โยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงานซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในโรงงาน เช่น ISO 14000
10. การเพิ่มผลผลิตทางการผลิต โดยการแสวงหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในโรงงาน รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ซึ่งอาจใช้วิธีขจัดความสูญเปล่าเข้าช่วย
11. การบำรุงรักษา โดยมีการบำรุงรักษาระบบการแปรรูปผลผลิตให้คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ การดำเนินงานและความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง โดยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการผลิตหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส
12. การประสานงานกับหน่วยงานอื่น คือ หน้าที่ของฝ่ายผลิตที่จะต้องประสานงานกับฝ่ายตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ตลอดจนผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ
การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
การจัดการโซ่อุปทาน หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง และการค้นคืนสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับ
การจัดการโลจิสติกส์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน คือ การวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิผลของการไหลของสินค้า การจัดเก็บสินค้า การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดบริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ความแตกต่างของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คือ ในส่วนของขอบเขตการดำเนินงาน การจัดการโลจิสติกส์จะครอบคลุมเฉพาะภายในองค์การ แต่การจัดการโซ่อุปทานจะเป็นการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ทั้งภายในและภายนอกองค์การเข้าด้วยกัน
ระบบการผลิตยุคใหม่ ปัจจุบันมี 2ระบบ คือ
1. ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า ซึ่งยึดหลักการสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี มีดังนี้
1.1 กรรมวิธีการผลิต 3 ประการ คือ
1. การปรับเรียบการผลิต หมายถึง ทำการผลิตเป็นล็อตเล็กๆ เพื่อสามารถตรวจสอบข้อบกพร่องและคุณภาพของผลผลิตได้ง่ายขึ้นสามารถตังเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนรุ่นและแบบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้ง
2. การออกแบบวิธีการและเครื่องมือการผลิต ให้พนักงานคนหนึ่งสามารถทำได้ลายหน้าที่
3. สร้างมาตรฐานของงานและควบคุมให้เสร็จตามเวลามาตรฐาน ณ รอบการผลิต
1.2 ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกันบังมาใช้สำหรับการสื่อสารการผลิต ระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน
2. ระบบการผลิตแบบลีน เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำเกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมาจากทั้งด้านคุณภาพ ราคา การจัดส่งสินค้าและบริการแก่ลูกค้า หลักการของระบบลีนมี 5 ข้อ ดังนี้
2.1 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ โดยมีการชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะใช้วิธีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง
2.2 การแสดงสายธารคุณค่า โดยมีการจัดทำผังแห่งคุณค่า ซึ่งจะระบุถึงกิจกรรมที่ต้องกระทำทั้งหมด ตั้งแต่รับวัสดุเข้าโรงงาน จนกระทั่งมีการส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า
2.3 การทำให้เกดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง คือ การมุ่งเน้นที่จะทำให้สายการผลิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาโดยปราศจากอุปสรรคขัดขวาง โดยใช้หลักการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง
2.4 การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ คือ จะทำการผลิตก็ต่อเมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้านั้น และผลิตในปริมาณเท่าที่ลูกค้าต้องการ จึงมีความสอดคล้องกับระบบการผลิตตามสั่ง
2.5 การสร้างคุณค่าและขจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง เป็นความพยายามของหน่วยผลิต ที่มุ่งมั่นด้านการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการค้นพบความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นระหว่างผลิตและกำจัดความสูญเปล่านั้นให้มดสิ้นไป
สารสนเทศทางการผลิต
สารสนเทศทางการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการผลิต ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
การจำแนกประเภท
สารสนเทศสามารถจำแนกประเภทได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการดำเนินงานการผลิตในส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1 สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต ครอบคลุมถึงสารสนเทศด้านการปฏิบัติการผลิตประจำวัน ต้นทุนการผลิต สินค้าสำเร็จรูป และงานระหว่างทำ
1.2 สารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ คือ สารสนเทศที่ระบุถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งถือเป็นหัวใจของการผลิต ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.3 สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงการผลิต ซึ่ง อาจจะต้องใช้เวลาและต้นทุนการค้นพบที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ
2. สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการวางแผนและจัดการผลิต ดังนี้
2.1 สารสนเทศด้านออกแบบการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้จากการปฏิบัติการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบกระบวนการผลิต และระบบการผลิตตาความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการออกแบบผังโรงงาน เพื่อดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่นตามเป้าหมายที่วางไว้
2.2 สารสนเทศด้านวางแผนการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้จากการวางแผนการผลิตด้านต่างๆ
2.3 สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์ คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดหาและการขนส่งวัสดุเข้าโรงงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิต ตลอดจนการจัดเก็บและควบคุมสินค้าคงเหลือ
2.4 สารสนเทศด้านควบคุมการผลิต คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานด้านการควบคุมกระบวนการผลิต การควบคุมต้นทุนการผลิต รวมทั้งด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
3. สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1 สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ขายวัสดุ ภายในเครือข่ายด้านโซ่อุปทานขององค์การ
3.2 สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ให้บริการขนส่งวัสดุ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ มี 5 ระบบ ดังนี้
1. ระบบออกแบบการผลิต
หน้าที่งานสำคัญของการผลิต คือ จะต้องมีการออกแบบการผลิตในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มงานด้านการวางแผนและการดำเนินการผลิต ซึ่งระบบการออกแบบการผลิต คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงหน้าที่ด้านการออกแบบในส่วนของผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ดี มีประสิทธิภาพ ซึ่งจำแนกระบบออกแบบการผลิตได้เป็น 2 กระบวนการ ดังนี้
1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาดในการดำเนินการวิจัยการตลาด
1.2 การออกแบบระบบการผลิต ระบบการผลิตหนึ่งๆจะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน เช่น สภาพแวดล้อม ปัจจัยการผลิต
2. ระบบวางแผนการผลิต อาศัยวิธีการวางแผนการผลิตและมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตช่วยสนับสนุนหน้าที่งานส่วนต่างๆ ดังนี้
2.1 การวางแผนการผลิตรวม คือ การวางแผนอัตราการผลิต ปริมาณแรงงานและการจัดเก็บสินค้าคงคลัง โดยพิจารณาจากอุปสงค์หรือความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
2.2 การจัดตารางการผลิต เป็นการวางแผนระยะสั้นที่สอดคล้องกับแผนการผลิตรวมโดยคำนึงถึงการใช้กำลังการผลิตอย่างคุ้มค่าภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต ซึ่งจะทำธุรกิจทราบถึงปริมาณงานผลิตในแต่ละสัปดาห์
2.3 การวางแผนความต้องการวัสดุ คือ การจัดการวัสดุคงคลัง ที่ความต้องการวัสดุนั้นขึ้นกับความต้องการวัสดุอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง
2.4 การวางแผนทรัพยากรการผลิต เนื่องจากปัจจุบันมีการดำเนินการผลิตที่ซับซ้อนขึ้น โดยเฉพาะในส่วนการผลิตสินค้าหลายๆรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า
3. ระบบจัดการโลจิสติกส์ ระบบจัดการโลจิสติกส์ด้านการผลิต มี 2 ส่วนงาน คือ
3.1 โลจิสติกส์ขาเข้า มักเกี่ยวข้องกับธุรกิจระหว่างองค์การ คือ องค์การผู้ซื้อวัสดุ และองค์การผู้ขายวัสดุ ซึ่ง ใช้สนับสนุกิจกรรมภายในโซ่คุณค่าขององค์การ
3.2 การจัดการสินค้าคงเหลือ คือ การกำหนดถึงปริมาณของสินค้าคงเหลือ ซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้า ซึ่งสินค้าคงเหลือนี้อาจอยู่ในลักษณะของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
4. ระบบดำเนินงานการผลิต ธุรกิจได้ทำการออกแบบการผลิต วางแผนการผลิต รวมทั้งมีการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตแล้ว ในขั้นต่อมาจะเป็นการดำเนินการผลิตสินค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการการผลิตและดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นถึงการผลิตตามกระบวนการผลิตและตามแผนการผลิตต่างๆในส่วนการผลิตที่วางไว้
5. ระบบควบคุมการผลิต จะเน้นถึงการควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยใช้สารสนเทศทางการผลิตบางส่วน ระบบควบคุมการผลิตมีส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
5.1 การควบคุมปฏิบัติการการผลิต การผลิตภายในโรงงานมีการใช้ระบบสารสนเทศด้านการปฏิบัติการผลิตเพื่อติดตามร่องรอยการดำเนินงานการผลิตและการควบคุม
5.2 การควบคุมคุณภาพ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของวัสดุและชิ้นส่วนที่จัดหามาได้
5.3 การควบคุมต้นทุน ในการดำเนินการผลิตจะเกิดต้นทุนการผลิตหลัก คือ ต้นทุนค่าวัสดุ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน
5.4 การบำรุงรักษา คือ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิตให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการทำงานและเป็นการรักษาความปลอดภัยในการทำงานด้วย
เทคโนโลยีทางการผลิต
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการผลิตมี 10 ข้อ คือ
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการผลิต
2. การใช้หุ่นยนต์
3. การใช้รหัสแท่ง
4. การใช้อินเตอร์เน็ต
5. การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
6. การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
7. ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
8. การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์
9. ระบบบูรณาการทางการผลิต
10. ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=XOWORWuAg7I
กลยุทธ์ธุรกิจ
|
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=aFWZmoEHfTU
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)